51D615E3 1C90 49E6 AA59 CF76B3D8BA5A

 

กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสุขภาพจิต จัดแถลงข่าวความคืบหน้าในจังหวัดหนองบัวลำภู

       วันนี้ (20 ตุลาคม 2565) กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต รายงานสถานการณ์ความคืบหน้าการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมเผยภาพแห่งรอยยิ้มที่คืนกลับสู่เด็ก ๆ ที่อยู่ในวัยสดใส ให้เหนี่ยวนำความสดชื่นสู่ชุมชนและสังคม
       นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานในพื้นที่ ในขณะนี้อาการของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 6 คนอยู่ในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู 3 คนและโรงพยาบาลอุดรธานีจำนวน 3 คนซึ่งเป็นผู้ใหญ่ 3 คน และเด็กอีก 3 คน พบว่ามีอาการดีขึ้นเป็นอย่างมาก แต่แน่นอนว่าเจ้าตัวและญาติจะมีความกังวลกับข้อจำกัดของร่างกายและชีวิตในอนาคต โดยมอบหมายให้ นายแพทย์ประวิตร ศรีบุญรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ดำเนินการหารือและออกเยี่ยมเยียนพื้นที่ประสบเหตุการณ์ความรุนแรงร่วมกับกรมสุขภาพจิตและแกนนำสาธารณสุข อาทิ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สิ่งที่พบตลอดคือความงดงามจากบรรยากาศการช่วยเหลือในชุมชนเพื่อเยียวยา ในการช่วยเหลือดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มให้ก้าวผ่านพ้นความเสียใจไปด้วยกัน การรายงานผลการปฏิบัติงานของทีม (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team : MCATT) ในกลุ่ม A คือ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้แก่ ผู้ได้รับบาดเจ็บ GHB ผู้รอดชีวิต ญาติใกล้ชิดผู้เสียชีวิต จากจำนวนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 345 คน สามารถเยียวยาจิตใจได้ถึง 336 คน คิดเป็นร้อยละ 97.39 และกลุ่ม B ได้แก่ ผู้รับรู้เหตุการณ์ใกล้ชิดในพื้นที่ ประชาชนตำบลอุทัยสวรรค์ นักเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 5,636 คน ซึ่งตลอด 2 สัปดาห์นี้ทั้งกลุ่ม A และ B ได้รับการเยี่ยมบ้านเชิงรุกจำนวน 447 ราย และส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์จำนวน 95 ราย ทีม MCATT มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบมีสุขภาพจิตดีขึ้นและไม่เกิดปัญหาสุขภาพจิตระยะยาว
        แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ทั้งนี้กรมสุขภาพจิตต้องขอขอบคุณต่อเครือข่ายต่าง ๆ ในช่วงวันที่ 16 – 19 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ ได้มีการจัดกิจกรรมจากเครือข่าย เล่น สร้าง สุข จากทีมไม้ขีดไฟและสถาบันไทเลยเพื่อการพัฒนา จากกลุ่มก่อการดีเลย ให้กับเด็กในพื้นที่ได้มีรอยยิ้มความสุขเกิดขึ้น น่าสังเกตุว่ารอยยิ้มของเด็กทำให้ผู้ใหญ่ผ่อนคลายและบรรยากาศชุมชนสดใสขึ้น การวางแผนการดูแลเด็กและครอบครัวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งแผนระยะติดตามการดูแลเด็กและผู้ประสบเหตุในระยะ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนจะใช้กลยุทธ์สองรูปแบบ โดย กลยุทธ์ที่ 1 คือการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตเวช ดูแลจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และระบบบริหารจัดการดูแลส่งต่อกรณีที่มีความซับซ้อนเพื่อทำการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ กลยุทธ์ที่ 2 จะเป็นเรื่องของการสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนกลับคืนสู่ปกติสุข โดยมีกิจกรรมการ เล่น สร้างสุข สำหรับเด็กๆ เพื่อเตรียมความพร้อมของครูและนักเรียนสำหรับการเปิดเทอมในช่วงต้นเดือน พฤศจิกายน 2565 และสุดท้ายเป็นการดำเนินการช่วยเหลือให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถกลับสู่บทบาทหน้าที่เดิมได้โดยความพร้อมของทุกฝ่ายให้เร็วที่สุด ซึ่งกรมสุขภาพจิตยังมีแผนการนำ “รถเพื่อนใจ”และอาสาสมัครอื่น ๆ เข้าในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางใจในชุมชนอย่างต่อเนื่อง การวางแผนการดูแลเด็กและครอบครัวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในระยะยาว ทั้งนี้ประเด็นสำคัญต่อจากนี้คือการทำให้เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติให้ได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งแผนระยะติดตามการดูแลเด็กและผู้ประสบเหตุในระยะ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนจะใช้กลยุทธ์สองรูปแบบ โดย กลยุทธ์ที่ 1 คือการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตเวช โดยมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องคือ การดูแลจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และระบบบริหารจัดการดูแลส่งต่อกรณีที่มีความซับซ้อนเพื่อทำการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ กลยุทธ์ที่ 2 จะเป็นเรื่องของการสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนกลับคืนสู่ปกติสุข โดยมีกิจกรรมการเล่นสร้างสุขสำหรับเด็กๆ กิจกรรมกลุ่มเพื่อเตรียมความพร้อมของครูและนักเรียนสำหรับการเปิดเทอมในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2565 และสุดท้ายเป็นการดำเนินการช่วยเหลือให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถกลับสู่บทบาทหน้าที่เดิมได้โดยความพร้อมของทุกฝ่ายให้เร็วที่สุด การแถลงการณ์นี้เป็นไปเพื่อส่งต่อข้อมูลถึงพี่น้องสื่อมวลชน เพื่อขยายผลไปสู่พี่น้องประชาชนที่มีความห่วงใยและคอยติดตามถามไถ่ความเป็นไปของผู้ประสบเหตุและเครือญาติ และขอส่งต่อภาพแห่งการมีรอยยิ้มคืนกลับสู่เด็กๆที่อยู่ในวัยสดใส ให้เหนี่ยวนำความสดชื่นของชุมชนและสังคม

***** 20 ตุลาคม 2565