ภาพข่าว 2 3 67 0111

 

กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและภาคีเครือข่ายผู้มีความสนใจในการดูแลสุขภาพจิต จัดกิจกรรม “HACK ใจ” โดยใช้กระบวนการแฮกกาธอน เน้นย้ำเพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน

            วานนี้ 2 มีนาคม 2567 กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ ไทยพีบีเอส (Thai PBS) , สสส. , UNDP สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , สำนักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ ตลอดจนถึงหน่วยงานภาคีผู้เข้าร่วมกิจกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) , สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ , กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน , กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) AIS , Future Tales Lab by MQDC , บริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ที่จะมาช่วยสร้างและผลัดดันให้เกินการแฮกกาธอนด้านสุขภาพจิตครั้งแรกของประเทศไทย

          นายแพทย์ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพจิตถือเป็นเรื่องเร่งด่วนของประเทศไทย ซึ่งกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพจิตแบบเร่งด่วนอย่างมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีความสนใจในการพัฒนางานด้านส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต และมีศักยภาพสูงที่แตกต่างออกไปจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข จึงจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตในปัจจุบัน

          รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส (Thai PBS) กล่าวว่า ต้องขอแสดงความชื่นชมที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพจิต และเชื่อมั่นว่าทั้ง 8 ทีมที่มาร่วมกันแฮกกาธอนด้วยใจ ซึ่งเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจากความตั้งใจที่เกิดขึ้นตลอด 3 วันมานี้ จะสามารถเกิดขึ้นได้จริง

          นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช) กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของทุกคน สิ่งที่พูดไปนั้น ค้นพบหลายสิ่งที่มาจากภายใน และขณะเดียวกันสิ่งที่จะแลกเปลี่ยนและเสนอกันต่อไปนั้น น่าจะเป็นโอกาสที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

          ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวว่า ได้ทำแฮกกะธอนมาเป็นระยะเวลา 7-8 ปี โดยได้นำตัวสตาร์ทอัพมาแก้ปัญหาที่มีมาตั้งแต่ต้น แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้กระบวนการแฮกมาแฮกใจ ซึ่งการที่จะแฮกใจให้ได้ผลนั้น ต้องเกิดจากการร่วมมือกันกับหลายภาคส่วน ซึ่งทาง NIA จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเรื่องของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใจ
ของพวกเราทุกคน

         นางสาวศิริประกาย วรปรีชา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาของเด็กและเยาวชน ในเรื่องของสุขภาพจิต ถ้าไม่แก้ให้ตรงจุดก็จะใช้แค่การควบคุมให้เป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งไม่มีหลักรับประกันได้ว่าจะมีความยั่งยืน แต่ถ้าสามารถดูแลในเรื่องของสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กได้ จะส่งผลให้เด็กๆ เปิดใจและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนเองและก้าวไปสู่เรื่องของการทำประโยชน์เพื่อสังคม แฮกใจในครั้งนี้จึงเป็นเสมือนการค้นพบเครื่องมือที่จะนำไปใช้ในการดูแลเด็กและเยาวชน รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของกรมพินิจฯ

         ดร.ตฤณ ทวิธารานนท์ ผช.ผอ.สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรกนิกส์ และประธานกรรมการโครงการ ETDA Sanbox  กล่าวว่า มิติการส่งเสริมที่เกี่ยวกับแฮกกะธอน ทาง ETDA ได้ดำเนินการมากว่า 10 ปี ซึ่งเริ่มต้นจากการส่งเสริมให้คนใช้ดิจิทัล แต่ตอนนี้เราจะเดินคนเดียวไม่ได้ในยุคสมัยที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น แนวทางแก้ปัญหาจึงต้องพัฒนาตามมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นงานส่งเสริมเทคโนโลยี ส่งเสริมเศรฐกิจให้เจริญ การแฮกใจในตอนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อไปให้กับประเทศในอนาคต

         พ.ต.ต.กล้า สมบัติพิบูลย์ สว.ส.ทล.1กก.2 บก.ทล ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) กล่าวว่า ตำรวจนั้นได้ใกล้ชิดกับประชาชน แต่ก็แบกความทุกข์และความหวังของประชาชนไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งแม้ว่าในองค์กรของตำรวจมีสวัสดิการเพื่อดูแลรักษาพยาบาลทางกาย แต่ยังขาดการรักษาทางใจ การแฮกใจในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ทางตำรวจได้มาค้นหาและร่วมกันคิดระบบในการดูแลจิตใจตำรวจเพื่อให้ตำรวจพร้อมที่จะดูแลประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพในการรับใช้ประชาชนดียิ่งขึ้นไป

         ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กรุงเทพประกันภัยมองเห็นสภาพของสังคมในเรื่องของสุขภาพจิตที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า แรงรุมเร้าที่เกิดขึ้นมากมายที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย การร่วมมือภายใต้แฮกกาธอนกับทุกภาคส่วนย่อมนำมาซึ่งฐานข้อมูลที่มากพอ ที่จะนำมาทำการวิเคราะห์แล้วนำเสนอ
ความคุ้มครองเพื่อให้ผู้ที่เจ็บป่วยได้มีโอกาสและใช้สิทธิ์ และได้รับความคุ้มครอง ลดภาระของต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

          นางฉัตรกุล สุนทรบุระ หัวหน้าแผนกงานบริหารภาพลักษณ์องค์กรและพัฒนาอย่างยั่งยืน AIS บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า AIS มีกลยุทธทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเรื่องของ Cyber Wellness ซึ่งนโยบายคือ มีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนเมื่ออยู่บนโลกออนไลน์จะต้องมีความปลอดภัย ทุกวันนี้มีปัญหาหลากหลายรูปแรบบนโลกออนไลน์ กิจกรรมแฮกใจ
ที่ทาง AIS ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมทำให้มองเห็นปัญหาของกลุ่มผู้ใช้งานในโลกออนไลน์ ยังเป็นการมองเห็นอกาสที่จะได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ และนำไปสู่ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ให้กับประชาชน

          นางสาวณุกมล จรณะหุต ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายความผูกพันและพัฒนาบุคลากร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กล่าวว่า บาร์บีคิวพลาซ่ามีกลยุทธคือ การทำมื้อนี้มีความสุขที่สุด และเชื่อในเรื่องของวงจรแห่งความสุขที่เริ่มต้นจากพนักงาน เมื่อพนักงานมีความสุขก็จะส่งต่อความสุขไปยังลูกค้า การเข้ามาแฮกใจในครั้งนี้ ทางฟู้ดแพชชั่นได้ทำนโยบายและกิจกรรมต่างๆ ให้พนักงานมีความสุขและก็ได้แนวคิดที่จะทำให้เราได้ไอเดียการทำงานบางอย่างร่วมกับภาคีเครือข่ายอีกด้วย

         นางสาววิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ นักวิจัยด้านการคาดการณ์อนาคตอาวุโส Future Tales Lab by MQDC กล่าวว่า การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใดๆ จะไม่ใช่แค่นำมนุษย์มาเป็นศูนย์กลาง แต่จะนึกถึงสุขภาวะที่ดีของทุกสิ่งที่มีชีวิตต่างๆ อนาคตเมืองเป็นอย่างไร อนาคตสุขภาพจิตเป็นอย่างไร แล้วจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดี คือโจทย์ที่สำคัญที่สุดของการมีชีวิตที่มีความสุข แต่ปัจจุบันการให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพจิตของสังคมเมืองยังคงน้อยเกินไป การแฮกใจเป็นการรวมคนหลากหลายกลุ่มที่จะช่วยกันมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตที่มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่สุด

         จากกิจกรรม “HACK ใจ” ในครั้งนี้มีองค์กรหลากหลายที่เห็นความสำคัญของสุขภาพจิต เป็นโอกาสที่จะพัฒนาให้ทุกฝ่ายพร้อมทำงานร่วมกัน เพื่อให้สังคมไทยพัฒนาต่อไป และ “HACK ใจ” เป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมเพื่อสร้างสุขภาพจิตเพื่อสังคม

***********************************************

3  มีนาคม 2567